วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

เพลงกล่อมเด็ก



ความหมายของเพลงกล่อมเด็ก
        เพลงกล่อมเด็กเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและค่านิยมของคนในท้องถิ่นต่างๆ คนทุกชาติทุกภาษาในโลกมีบทเพลงกล่อมเด็กด้วยกันทั้งนั้น สันนิษฐานว่าเพลงกล่อมเด็กมีวิวัฒนาการจากการเล่านิทานให้เด็กฟังก่อนนอน ดังนั้นเพลงกล่อมเด็กบางเพลงจึงมีลักษณะเนื้อร้องที่เป็นเรื่องเป็นราว เช่น จันทรโครพ ไชยเชษฐ์ พระรถเสน เป็นต้น การที่ต้องมีเพลงกล่อมเด็กก็เพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน หลับง่าย และเกิดความอบอุ่นใจ

[แก้ไข] ลักษณะของเพลงกล่อมเด็ก

        ลักษณะกลอนของเพลงกล่อมเด็กจะเป็นกลอนชาวบ้านไม่มีแบบแผนแน่นอน เพียงแต่มีสัมผัสคล้องจองกันบ้าง ถ้อยคำที่ใช้ในบางครั้งอาจไม่มีความหมาย เนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรัก ความห่วงใยของแม่ที่มีต่อลูก ทั้งยังมีการสั่งสอนและเสียดสีสังคม สามารถแยกเป็นข้อได้ดังนี้
  • เป็นบทร้อยกรองสั้นๆ มีคำคล้องจองต่อเนื่องกันไป
  • มีฉันทลักษณ์ไม่แน่นอน
  • ใช้คำง่ายๆ สั้นหรือยาวก็ได้
  • มีจังหวะในการร้องและทำนองที่เรียบง่าย สนุกสนาน จดจำได้ง่าย
นะจะบอกหั้ย

[แก้ไข] ประเภทของเนื้อเพลงกล่อมเด็ก

  • แสดงความรักความห่วงใย
  • กล่าวถึงสิ่งแวดล้อม
  • เล่าเป็นนิทานและวรรณคดี
  • เป็นการเล่าประสบการณ์
  • ล้อเลียนและเสียดสีสังคม
  • ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็ก
  • เป็นคติ คำสอน

[แก้ไข] เพลงกล่อมเด็กในแต่ละภาค

        ในประเทศไทยเรานั้นมีเพลงกล่อมเด็กอยู่ทั่วทุกภาค เนื้อร้องและทำนองจะต่างกันไป มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น ภาคเหนือเรียก "เพลงนอนสาหล่า" "นอนสาเดอ" ภาคกลางเรียก "เพลงกล่อมเด็ก" "เพลงกล่อมลูก" ส่วนภาคใต้เรียก "เพลงชาน้อง" "เพลงเปล" "เพลงน้องนอน" และ "เพลงร้องเรือ" โดยเพลงกล่อมเด็กเป็นคติชาวบ้านประเภทใช้ภาษาเป็นสื่อที่การถ่ายทอดจากปากต่อปากมาแต่โบราณ เรียกว่า "มุขปาฐะ" มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีบทบาทและหน้าที่แสดงเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน

[แก้ไข] เพลงกล่อมเด็กภาคเหนือ

        สำหรับภาคเหนือ หรือดินแดนล้านนาอันสงบสวยงาม มีเพลงกล่อมลูกสืบทอดเป็นลักษณะแบบแผนเฉพาะของตนเองมาช้านาน อาจารย์สิงฆะ วรรณไสย แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียกฉันทลักษณ์ของเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือว่า "คำร่ำ" ซึ่งจัดเป็นลำนำชนิดหนึ่ง หมายถึงการร่ำพรรณนา มีเสียงไพเราะ สูงต่ำตามสียงวรรณยุกต์ของสำเนียงภาคเหนือ นิยมใช้แต่งในการร่ำบอกไฟขึ้น ร่ำสร้างวิหาร ร่ำสร้างเจดีย์ ร่ำสร่างถนน ขึ้นดอยสุเทพ และแตงเป็นคำกล่อมเด็ก
        คำกล่อมเด็กนี้ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ในภาคเหนือสมัยก่อนมักจะใช้ขับกล่อมสอนลูกหลานขณะอุ้มเด็กนั่งชิงช้าแกว่งไกวช้าๆ จนเด็กง่วงนอน จึงอุ้มไปวางบนที่นอนหรือในเปลแล้วแห่กล่อมต่อจนเด็กหลับสนิท คำกล่อมเด็กนี้จึงเรียนว่า "สิกจุ้งจาโหน" ตามเสียงที่ใช้ขึ้นต้นเพลง
        ลักษณะเด่นของเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือนอกจากจะขึ้นต้นด้วยคำว่าสิกจุ้งจาโหนแล้วยังมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "อื่อจา" เป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกเพลงกล่อมเด็กนี้ว่า เพลงอื่อลูก ทำนองและลีลาอื่อลูกจะเป็นไปช้าๆ ด้วยน้ำเสียงทุ้มเย็น ตามถ้อยคำที่สรรมาเพื่อสั่งสอนพรรณาถึงความรัก ความห่วงใยลูกน้อย จนถึงคำปลอบ คำขู่ ขณะยังไม่ยอมหลับ ถ้อยคำต่างๆ ในเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมต่างๆ ของคนในภาคเหนือในอดีตจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นับเป็นประโยชน์ทางอ้อมที่ได้รับนอกเหนือจากความอบอุ่นใจของลูกที่เป็นประโยชน์โดยตรงของเพลงกล่อมเด็ก
[แก้ไข] ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กของภาคเหนือ
ภาพ:Northern_thai_lullaby_2.jpg

[แก้ไข] เพลงกล่อมเด็กภาคอีสาน

        เพลงพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะเด่นชัดกับการขับร้องอันเป็นธรรมชาติ บ่งบอกความจริงใจ ความสนุกสนาน และความสอดคล้องกลมกลืนกับเครื่องดนตรีประจำท้องถิ่น คือ แคน แม้การขับกล่อมลูกซึ่งไม่ใช้เครื่องดนตรีใดๆ ประกอบ ก็สื่อให้ผู้ฟังรู้ทันทีว่าเป็นเพลงของภาคอีสาน
        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน เป็นดินแดนที่กว้างขวางและมีประชากรมากที่สุดในบรรดา 4 ภาคของไทย เพลงกล่อมลูกจึงมีหลายสำเนียง ถ้าเป็นอีสานตอนเหนือจะมีสำเนียงคล้ายลาว ถ้าเป็นอิสานตอนใต้จะมีสำเนียงคล้ายเขมร แต่เพลงกล่อมลูกที่แพร่หลายและยอมรับว่าเป็นเอกลักษณ์ของอีสานจะเป็นสำเนียงอีสานตอนเหนือ และมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "นอนสาหล่า" หรือ "นอกสาเดอ" หรือ "นอนสาแม่เยอ" มีทำนองลีลาเรียบง่ายช้าๆ และมีกลุ่มเสียงซ้ำๆ กันทั้งเพลงเช่นเดียวกับภาคเหนือ การใช้ถ้อยคำมีเสียงสัมผัสคล้ายกลอนสุภาพทั่วไป และเป็นคำพื้นบ้านที่มีความหมายในเชิงสั่งสอนลูกหลานด้วยความรักความผูกพัน
        ซึ่งมักจะประกอบด้วย 4 ส่วนเสมอ คือ ส่วนที่เป็นการปลอบโยนการขู่และการขอโดยมุ่งให้เด็กหลับเร็วๆ นอกจากนี้ก็จะเป็นคำที่แสดงสภาพสังคมด้านต่างๆ เช่น ความเป็นอยู่ บรรยากาศในหมู่บ้าน ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น คุณค่าของเพลงกล่อมเด็กอีสาน จึงมีพร้อมทั้งทางด้านจิตใจและด้านการศึกษาของชาติ
[แก้ไข] ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กภาคอีสาน
ภาพ:Northeast_thai_lullaby_2.jpg

[แก้ไข] เพลงกล่อมเด็กภาคกลาง

        เพลงกล่อมเด็กภาคกลางเป็นที่รู้จักแพร่หลายและมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานมากกว่าเพลงกล่อมเด็กภาคอื่น ซึ่งสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้า การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ โดยไม่มีชื่อเฉพาะสำหรับเรียกเพลงกล่อมเด็กภาคกลาง เนื่องจากขึ้นต้นบทร้องด้วยคำหลากหลายชนิดตามแต่เนื้อหาของเพลง นักวิชาการหลายท่านได้ศึกษาแบ่งประเภทเนื่อหาของเพลงกล่อมเด็กภาคกลางไว้คล้ายกัน คือ
  • ประเภทสะท้อนให้เห็นความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูก ดังจะเห็นได้จากถ้อยคำที่ใช้เรียกลูกว่าเจ้าเนื้อละเอียด เจ้าเนื้ออุ่น เจ้าเนื้อเย็นสุดที่รักสุดสายใจ เป็นต้น
  • ประเภทสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ของคนไทยภาคกลางในด้านต่างๆ เช่น ความเจริญทางวัตถุ ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ ความศรัทธา ความเชื่อคุณธรรมประจำใจ อารมณ์ขัน และการทำมาหากินของประชาชน
  • ประเภทให้ความรู้ด้านต่างๆ เช่น ความรู้ทางภาษา ธรรมชาติวิทยา วรรณคดี นิทาน ภูมิศาสาตร์ ประวัติศาสตร์ แบบแผนการปกครอง และครอบครัว
        ลักษณะทำนองและลีลาของเพลงกล่อมเด็กภาคกลางจะเป็นการขับกล่อมอย่างช้าๆ เช่นเดียวกับภาคอื่นๆ กลุ่มเสียงก็จะซ้ำๆ เช่นกัน แต่จะเน้นการใช้เสียงทุ้มเย็น และยึดคำแต่ละคำให้เชื่อมกลืนกันไปอย่างไพเราะ อ่อนหวาน ไม่ให้มีเสียงสะดุด ทั้งนี้เพื่อมุ่งให้เด็กฟังจนหลับสนิทในที่สุด
[แก้ไข] ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กภาคกลาง
ภาพ:Central_thai_lullaby_2.jpg

[แก้ไข] เพลงกล่อมเด็กภาคใต้

        ในบรรดาภาษาถิ่น ภาคใต้เป็นภาษาถิ่นที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักมากที่สุดเพราะมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจนที่สุด เช่นเดียวกับเพลงกล่อมลูกภาคใต้ที่มีทำนองและลีลาเด่นเป็นของตนเอง เพลงกล่อมลูกภาคใต้ มีชื่อเรียก 4 อย่าง คือ เพลงร้องเรือ เพลงชาน้อง หรือเพลงช้าน้อง เพลงเสภา และเพลงน้องนอน
        ที่เรียกว่าเพลงร้องเรือ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพราะลักษณะของเปลที่ใช้ผ้าผูกมีรูปร่างคล้ายเรือ เพลงชาน้องหรือช้าน้อง คำว่า ชา มาจาก คำว่าบูชา ซึ่งแปลว่าสดุดีหรือกล่อมขวัญ ชาน้องหรือช้าน้อง จึงหมายถึงการสดุดีแม่ซื้อ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเทวดาหรือผีประจำทารก เพลงเสภาเป็นเพลงที่ใช้โต้คารมกันเป็นบทปฏิพากย์แสดงปฏิภาณไหวพริบ นำมาใช้ในเพลงกล่อมลูกเพลงน้องนอน เป็นการมุ่งกล่อมน้องหรือกล่อมลูกโดยตรง ลักษณะเด่นของทำนองกล่อมลูกภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นเพลงประเภทใดคือมักจะขึ้นต้นเพลงด้วยคำว่า "ฮา เอ้อ" หรือมีคำว่า "เหอ" แทรกอยู่เสมอในวรรคแรกของบทเพลง แล้วจึงขับกล่อมไปช้าๆ เหมือนภาคอื่นๆ
        จากหลักฐานการค้นคว้าเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ ของศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ระบุไว้ว่าเพลงกล่อมเด็กภาคใต้มีจุดประสงค์และโอกาสการใช้กว้างขวาง จำนวนเพลงจึงมีมากถึง 4,300 เพลง นับว่ามากกว่าทุกภาคในประเทศ
[แก้ไข] ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กภาคใต้
ภาพ:Southern_thai_lullaby_2.jpg